LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งเป็นเกณฑ์การประเมินระดับนานาชาติที่แสดงถึงมาตรฐานในการก่อสร้างอาคารสีเขียว ที่ดำเนินการโดยองค์กรที่เรียกว่า U.S. Green Building Council (USGBC) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการประเมินอาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่ว่าเป็นอาคารที่มีความรับผิดชอบในการรักษาสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าอาคารเขียว (Green Building) เกณฑ์คะแนนของ LEED แบ่งเป็น 4 ระดับได้แก่
การรับรองจาก LEED นั้นแสดงถึงความรับผิดชอบของเจ้าของโครงการที่มีต่อสังคม จากผลสำรวจพบว่าอาคารที่ถูกประเมินว่าเป็นอาคารเขียวนั้น นอกจากจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรนั้นๆ แล้วยังช่วยให้พื้นที่เช่ามีราคาที่สูงกว่าอาคารทั่วไปอีกด้วย เนื่องจากผู้บริโภคมีความยินดีที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีความใส่ใจในผลกระทบของโครงการที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม
สำหรับในประเทศไทยก็มีเกณฑ์ประเมินอาคารเขียวเช่นกันนั่นคือ TREES ย่อมาจาก Thai's Rating of Energy and Environmental Sustainability ซึ่งหลักเกณฑ์โดยรวมนั้นมีความคล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างในรายละเอียดบางส่วนที่ปรับให้เหมาะสมกับบริบทและสภาพอากาศของไทยมากขึ้น
หลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวนั้นมีหลากหลายปัจจัยด้วยกัน หนึ่งประเด็นที่สำคัญคือการเลือกใช้วัสดุที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยมีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก การเลือกใช้วัสดุตกแต่งที่ผ่านมาตรฐาน FSC ก็จะช่วยเพิ่มคะแนน LEED ได้
FSC ย่อมาจาก Forest Stewardship Council™ เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อให้การจัดการป่าไม้ของโลกเป็นไปอย่างมีความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายของประเทศที่ผืนป่านั้นตั้งอยู่ สิทธิของชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในป่านั้น ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งระบบการควบคุมดูแลรักษาสภาพผืนป่าและการกำหนดแผนการปลูกป่าทดแทน เป็นต้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
สำหรับไม้ที่นำมาผลิตเป็น Fiberboard ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ FSC ภายใต้แบรนด์ Agro fiber ที่ได้รับ Certificate FSC 100% หมายถึงการใช้ไม้จากป่าปลูกที่มีการจัดการอย่างสมบูรณ์ (FSC – FM ) ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจต่อระบบนิเวศ สังคมและเศรษฐกิจของส่วนรวม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืนไปถึงรุ่นต่อไป
อีกหนึ่งเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวที่ผู้ออกแบบและเจ้าของโครงการคำนึงถึงเป็นพิเศษนั่นก็คือ การเลือกใช้วัสดุที่ไม่ปล่อยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs: Volatile Organic Compounds) หรือมีการปล่อยสารในปริมาณน้อย (Low VOCs) ซึ่งไม้จาก Agro fiber นั้นผ่านการรับรอง ตามมาตรฐาน Certificated CARB P2 / EPA TSCA TITIE VI
การวัดค่าฟอร์มัลดีไฮด์โดยทั่วไป แบ่งเป็น 4 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับเหมาะแก่การใช้งาน ดังนี้
"จะเห็นได้ว่าไม้ Fiberboard คลาส E1 นั้นเหมาะสมในการใช้ตกแต่งภายในมากที่สุด
เนื่องจากมีสารเจือปนในปริมาณที่น้อยมากและมีราคาที่คุ้มค่า"
ที่สำคัญทางแบรนด์ Agro fiber มีไม้ MDF เกรด E1 FSC ที่ได้รับ Certificated CARB P2 / EPA TSCA TITIE VI มาตรฐานส่งออก และใช้สำหรับงานโครงการที่ต้องการเพิ่มคะแนน LEED ให้สูงขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสให้งานโครงการนั้นผ่านมาตรฐานอาคารเขียว หรือใช้ในกรณีที่ต้องการเพิ่มมูลค่าหรือสร้างจุดขายให้กับโครงการ
ในการตกแต่งภายในอาคารนั้นไม้นับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งฝ้า ผนัง งานเฟอร์นิเจอร์ หรืองานตู้บิวท์อินต่างๆ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้เกือบทั้งสิ้น โดยคิดเป็น 30-50% ของงานตกแต่งเลยทีเดียว สำหรับ Fiberboard จาก Agro fiber นั้นผ่านเกณฑ์ FSC มีหลายชนิดซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันไป ได้แก่
"สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มาตรฐาน FSC รับรองของ Agro fiber ได้แก่ MDF E1, MDF E0, HDF E1, HMR E2, HMR E1"
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์จากบริษัท อะโกรไฟเบอร์ จำกัด ผ่านตามมาตรฐานการรับรอง LEED ในด้านของวัสดุและการก่อสร้าง( Materials and Resources) และ คุณภาพสภาวะแวดล้อมในอาคาร (Indoor Environmental Quality) โดยมีเอกสาร Leed score form Agro fiber ที่ใช้ตรวจสอบเรื่องคะแนน LEED เพื่อให้ผู้ที่สนใจเช็คคะแนนได้อีกด้วย
กล่าวโดยสรุปคือ หากเจ้าของโครงการหรือผู้ออกแบบกำลังมองหาวัสดุสำหรับตกแต่งภายในที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยกับผู้ใช้งาน แนะนำให้เลือกใช้ไม้ Fiberboad คลาส E1 FSC 100% ที่ได้รับ Certificated CARB P2 / EPA TSCA TITIE VI มาตรฐานส่งออก จาก Agro fiber ข้อดีอื่นๆ คือขึ้นรูปได้สะดวก ตัดหรือเจาะรูง่าย ผิวไม้เรียบเนียน สามารถทำสีลงบนไม้ได้เลย และรับน้ำหนักได้ดีกว่าไม้ปาร์ติเกิ้ล