มาตรฐานสากลที่ใช้เลือกซื้อไม้อัด HMR


วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เข้าชม 255 ครั้ง

ปัจจุบันเราเริ่มหันมาใช้ไม้อัดทนชื้นหรือไม้อัดเอชเอ็มอาร์ (HMR: High Moisture Resistance) กันอย่างแพร่หลายเนื่องจาก
วันนี้เรามีเทคนิคการตรวจสอบสินค้ามาบอกครับ เพื่อให้ทุกท่านมีความมั่นใจในการเลือกซื้อและได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมในหลายๆด้าน และยังมีราคาที่คุ้มค่าอีกด้วย แต่ในตลาดมีไม้อัดทนชื้นให้เลือกมากมายหลายแบรนด์ แล้วเราจะมีวิธีตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าได้อย่างไร

 

ไม้อัด HMR ทนความชื้นได้สูงสามารถใช้ในห้องน้ำส่วนแห้งได้

มาตรฐาน V313
ตรวจสอบวัสดุในเรื่องความทนทาน 
ทดสอบด้วยมาตรฐาน V313 (REFERENCE BY EN622-5) หรือที่เรียกว่า 3 Cyclic Test ตามมาตรฐาน EN317 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในยุโรปและอเมริกา กระบวนการ การทดสอบมีขั้นตอนดังนี้
1.  นำชิ้นตัวอย่างแช่น้ำ ควบคุมอุณหภูมิที่ 20°C เป็นเวลา 72 ชั่วโมง
2.  จากนั้นนำชิ้นตัวอย่างไปไว้ในตู้เย็น ควบคุมอุณหภูมิที่ -12°C ถึง -25°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
3.  นำชิ้นตัวอย่างไปอบในตู้ ควบคุมอุณหภูมิที่ 70°C เป็นเวลา 72 ชั่วโมง
ทำซ้ำทุกขั้นตอนทั้งหมด 3 ครั้งรวมระยะเวลา 21 วัน หลังจากนั้นจึงนำชิ้นไม้มาทดสอบหาค่าอัตราการพองตัวของไม้

 


ไม้อัด HMR ทนความชื้นได้สูงเหมาะสำหรับใช้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทไม่มากนัก

SWELLING IN THICKNESS
ทดสอบคุณสมบัติการทนความชื้น หาค่าอัตราการพองตัวของไม้
ทดสอบโดยการนำชิ้นตัวอย่างแช่น้ำเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำชิ้นตัวอย่างนำมาคำนวณค่าการพองตัว  ไม้อัดเอชเอ็มอาร์จากอะโกรไฟเบอร์นั้นผ่านมาตรฐานการทดสอบดังกล่าวโดยมีอัตราการพองตัวที่แตกต่างกันไปตามความหนาของแผ่นไม้ ซึ่งไม้ที่หนากว่าก็จะมีอัตราการพองตัวที่ต่ำกว่า เช่น ไม้เอชเอ็มอาร์ความหนา 4 มม. มีอัตราการพองตัวไม่เกิน 25% ส่วนไม้เอชเอ็มอาร์ความหนา 18 มม. มีอัตราการพองตัวไม่เกิน 8% เท่านั้น

 


ไม้อัด HMR มีความแข็งแรงสูงทนต่อการแตกหักจึงสามารถใช้เป็นท็อปโต๊ะหรือชั้นวางได้


MOR (MODULUS OF RUPTURE)
ทดสอบตามมาตรฐาน EN 310 
นอกเหนือจากคุณสมบัติการทนความชื้นแล้ว อีกคุณสมบัติที่มีความสำคัญมากเช่นกันนั่นคือ การทดสอบหาค่าความทนทานของวัสดุ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์การแตกหัก หรือแรงที่เกิดขึ้นจากแรงดัดสูงสุดที่กระทำต่อชิ้นตัวอย่างก่อนเกิดการแตกหัก
วิธีการทดสอบคือให้ชิ้นตัวอย่างรับแรงกดในบริเวณจุดกึ่งกลาง โดยระยะห่างระหว่างจุดรับแรงทั้งสองด้านมีค่าเท่ากับ 20 เท่าของความหนา โดยไม้เอชเอ็มอาร์ของอะโกรไฟเบอร์บอร์ดความหนา 4-9 mm. มีค่าสัมประสิทธิ์การแตกหักไม่ต่ำกว่า 27 N/mm2 และบอร์ดความหนา 12-25 mm. มีค่าสัมประสิทธิ์การแตกหักไม่ต่ำกว่า 24 N/mm2 ค่า MOR ยิ่งสูงยิ่งทำให้แผ่นบอร์ดมีความแข็งแรงไม่แตกหักง่าย

 

ไม้อัด HMR มีความหนาแน่นสูงแต่ไม่แน่นเกินไปจึงเหมาะที่จะใช้ในการฉลุลาย หรือกรู๊ฟร่องทำเป็น Wall art

DENSITY 
การทดสอบเพื่อหาความหนาแน่นของเนื้อไม้ (DENSITY) ทดสอบตามมาตรฐาน EN 323
โดยการนำชิ้นไม้ตัวอย่างวัด ขนาด ความกว้าง ความยาว ความหนา แล้วนำมาชั่งน้ำหนัก เพื่อคำนวณหาค่า density ไม้เอชเอ็มอาร์ สูตรเฉพาะของอะโกรไฟเบอร์ มีพันธะภายในที่เหนียวแน่น ความหนาแน่นเฉลี่ยสูงกว่า 800 Kg/m3 ในไม้บาง และ สูงกว่า 730 Kg/m3 ในไม้หนา ทำให้รับน้ำหนักได้ดีกว่าไม้ไฟเบอร์บอร์ดประเภทอื่น
เมื่อทราบอย่างนี้แล้วหากต้องการเลือกใช้ไม้ HMR เพื่อนำมาใช้ตกแต่งภายในจึงไม่ควรเปรียบเทียบเฉพาะราคาเท่านั้น แต่ควรตรวจสอบว่าไม้ผ่านมาตรฐานการทดสอบความแข็งแรง การทนความชื้น และความหนาแน่น ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น  
สำหรับไม้ HMR จากอะโกรไฟเบอร์ที่นอกจากจะผ่านการทดสอบมาตรฐานทั้งหมดแล้ว ยังมีขั้นตอนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั่นคือการเลือกใช้ไม้จากป่าปลูกโดยเกษตรกรกว่าล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ดังนั้นหากเลือกใช้ไม้ HMR จากอะโกรไฟเบอร์ ที่นอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลแล้ว ยังถือว่าได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนอีกด้วย 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.agrofiber.com/th/Product/HMR 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


พูดคุย-สอบถาม คลิก